วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ลักษณะช้างอเชีย

1. ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ มีเฉพาะในทวีปเอเชียตอนใต้และหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง เช่น อินเดีย เนปาล ภูฐาน พม่า ไทย ลาว เขมร จีนตอนใต้
2. ภูมิอากาศที่ชอบ ปกติชอบอยู่อาศัยในป่าดงดิบ ทึบ มีอากาศร่มเย็น ไม่ชอบอากาศร้อนจัด
3. ลักษณะและขนาด ยาว โคนงวงใหญ่ ล่ำสันตลอดลำ ฝาปิดเปิดปลายงวงปิดได้สนิท งวงตอนโคนงาถ้าเป็นโหนกใหญ่และหนา แสดงว่าเป็นช้างที่แข็งแรง

3.1 ลักษณะรูปร่าง รูปร่างอ้วนป้อม

3.2 ขนาดความสูง


เพศผู้ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงสุด 3.2 เมตร (เฉลี่ย 2.4-2.9 เมตร)


เพศเมีย เมื่อโตเต็มที่มีความสูงสุด 2.7 เมตร (เฉลี่ย 2.1 – 2.4 เมตร)

3.3 หลัง กว้าง โค้ง ลาดลงไปข้างหน้าและข้างหลัง แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
4. เท้า

4.1 เล็บเท้าหน้า มีจำนวนข้างละ 5 เล็บ

4.2 เล็บเท้าหลัง มีจำนวนข้างละ 4 เล็บ (อาจมีบางตัวมี 5 เล็บ)
5. จะงอยปลายงวง ปลายงวงมีจะงอยเดียว
6. หลัง มีลักษณะโค้งงอเหมือนหลังกุ้ง
7. หัว หัวกว้างมี 2 ลอน
8. หู ใบหูมีขนาดเล็กกว่าช้างอาฟริกา และขอบบนใบหูอยู่ต่ำกว่าหัว
9. จุดสูงที่สุดของร่างกาย อยู่ที่บริเวณหลัง
10. งา

10.1 เพศที่มีงา มีงาเฉพาะตัวผู้ ตัวเมียไม่มีงาตัวผู้บางตัวมีขนาดงาเล็กๆ เรียกขนาย งาจะสั้นกว่าช้างแอฟริกา

10.2 ขนาดความยาวของงา เฉลี่ยความยาว 120-160 ซม.(1.20-1.60 ม.)
11. ฟันกราม

11.1 จำนวนสันร่อง สันร่อง(ridges) ของฟันกรามในช้างเอเชีย (แก่ อายุมาก) มีจำนวนมากที่สุดไม่เกิน 27 สันร่อง

11.2 ลักษณะรูปร่างลวดลายสันร่องฟันกราม สันร่องฟันกรามมีลักษณะรูปร่างลวดลายเป็นวงยาวรีเรียงกัน
12. กระดูกซี่โครง มีจำนวน 19 คู่
13. ข้อกระดูกหาง มีจำนวน 33 ข้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น